ความยินดีในการระคนด้วยหมู่ เป็นเสี้ยนหนามแก่ ผู้ยินดีในปวิเวก
การตามประกอบในสุภนิมิต เป็นเสี้ยนหนามแก่ ผู้ตามประกอบในอสุภนิมิต
การดูการเล่น เป็นเสี้ยนหนามแก่ ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
การเกี่ยวข้องด้วยเพศตรงข้าม เป็นเสี้ยนหนามแก่ พรหมจรรย์
เสียง เป็นเสี้ยนหนามแก่ ปฐมฌาน
วิตกวิจาร เป็นเสี้ยนหนามแก่ ทุติยฌาน
ปีติ เป็นเสี้ยนหนามแก่ ตติยฌาน
อัสสาสะปัสสาสะ (ลมหายใจเข้า/ออก) เป็นเสี้ยนหนามแก่ จตุตถฌาน
สัญญาและเวทนา เป็นเสี้ยนหนามแก่ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
ราคะ เป็นเสี้นหนาม
โทสะ เป็นเสี้ยนหนาม
พวกเธอจงเป็นผู้ไม่มีเสี้ยนหนาม อยู่เถิด. พวกเธอจงเป็นผู้หมดเสี้ยนหนาม อยู่เถิด. พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีเสี้ยนหนาม หมดเสี้ยนหนาม แล.
— ทสก. อํ. 24/145/72
Advertisements
แล้วอะไรเป็นเหตุให้ผ่านเสี้ยนหนามได้ครับหลวงพ่อ
สมาธิ ฌาน มรรค ผล เป็นเหตุให้หมดเสี้ยนหนาม
ถ้าได้ ปฐมฌาน แล้ว เสียงก็ไม่เป็นเสี้ยนหนาม
ถ้าได้ ทุติยฌาน แล้ว วิตกวิจารก็ไม่เป็นเสี้ยนหนาม
ถ้าได้ ตติยฌาน แล้ว ปีติก็ไม่เป็นเสี้ยนหนาม
ถ้าได้ จตตุถฌาน แล้ว ลมหายใจก็ไม่เป็นเสี้ยนหนาม
ถ้าหมดราคะ/โทสะ แล้ว ก็หมดเสี้ยนหนาม
เมื่อละนิวรณ์ทั้ง ๕ ได้ เสี้ยนหนามของสมาธิก็ไม่มี